Sunday 28 August 2016

มะม่วงแก้วขมิ้น มะม่วงฮิตจากกัมพูชา

มะม่วงแก้วขมิ้น มะม่วงฮิตจากกัมพูชา

มะม่วงแก้วขมิ้นมีถิ่นกำเนิดจาก ประเทศกัม

พูชา โดยมีชื่อเรียกในภาษาเขมรว่า ซะ–วาย–แกว–รำเมด ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “มะม่วงแก้วขมิ้น” ถูกนำเข้ามาปลูกเพื่อเก็บผลและขยายพันธุ์ตอนกิ่งจำหน่ายในประเทศไทยนานกว่า 4-5 ปี แล้ว ปรากฏว่า ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อผลไป รับประทาน และซื้อกิ่งตอนไปปลูกอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก เป็นมะม่วงที่ติดผลง่าย ติดผลดกตลอดทั้งปีโดยไม่ต้องใช้วิธีบังคับให้ติดผลนอกฤดูกาลเช่นมะม่วงสายพันธุ์อื่น จึงทำให้เกษตรกรผู้ปลูกเก็บผลขายมีผลขายได้ตลอดปี สนนราคาอยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 50 บาท ขายเป็นผลเดี่ยวๆ ผลละ 20 บาท

มะม่วงแก้วขมิ้นหรือแก้วเขมรนี้ปัจจุบันจัดเป็นมะม่วงที่เป็นไม้เศรษฐกิจตัวใหม่ของชาวสวนเกษตร ลูกใหญ่รสชาติดี เป็นมะม่วง 3 รส รสชาติคล้ายมะม่วงแก้วแต่เปรี้ยวน้อยกว่าและไม่มีกลิ่นขี้ไต้ น้ำหนักดี 2 ลูกต่อกิโลกรัม ปลูก 2 ปีเริ่มให้ผลผลิตแต่ยังไม่มากนัก หลังจากปลูกแล้ว 5  ปีขึ้นไปผลผลิตจะดกมาก โรงงานทำมะม่วงดอง ทำมะม่วงแช่อิ่ม มีเท่าไหร่รับหมด เพราะรสชาติและน้ำหนักดีเป็นเยี่ยม สำหรับมะม่วงพันธุ์นี้เท่าที่สังเกตจะมีร่องนิด ๆ ที่ใต้ขั้ว ผลดิบรสชาติอร่อยมาก คือไม่เปรี้ยวมาก ลูกดิบที่ไม่ค่อยแก่จะสีไม่เหลือง แต่ลูกแก่จะออกสีเหลืองเหมือนขมิ้น ยิ่งแก่มากยิ่งสีเหลืองมาก ผลสุกก็หวาน มีเสี้ยนนิด ๆ แต่นิยมกินดิบ

มะม่วงแก้วขมิ้น มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไป ต้นสูง 3-6 เมตร ใบแหลมยาว โคนมน ดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกมีกลิ่นหอม “ผล” มีรูปทรงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อพบเห็นจะรู้ได้ทันทีว่าเป็นผล “มะม่วงแก้วขมิ้น” เมล็ดเล็กติดผลเป็นพวง 5-10 ผล ผลดกเต็มต้นตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง

เครดิต บทความมาจาก
http://ch3.sanook.com/9465

Wednesday 24 August 2016

วิธีปลูกมะม่วงแก้วขมิ้น

วิธีปลูกมะม่วงแก้วขมิ้น 


1. การเพาะเมล็ดมะม่วง
โดยทั่วไป การเพาะเมล็ดมีจุดประสงค์สองประการคือ เพื่อใช้ปลูกโดยตรง และเพื่อใช้เป็นต้นตอสำหรับการขยายพันธุ์แบบต่างๆ เช่น การติดตา การทาบกิ่ง เป็นต้น การเพาะเมล็ดเป็นวิธีดั้งเดิมที่ใช้กันมานาน ข้อดีของการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดคือ ทำได้ง่าย ได้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ต้นมะม่วงที่ได้จากการเพาะเมล็ด ต้นจะใหญ่โตมีอายุยืนนาน เพราะมีระบบรากที่แข็งแรง ส่วนข้อเสียคือ ออกดอกออกผลช้ากว่าการขยายพันธุ์ด้วยการติดตา การตอน หรือการทาบกิ่ง และต้นมะม่วงที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั้น อาจกลายพันธุ์ ไม่ตรงตามพันธุ์เดิมก็ได้ ซึ่งอาจดีกว่าหรือเลวกว่าพันธุ์เดิม กลายเป็นพันธุ์ใหม่ไป
1.1 การเพาะเมล็ด การเพาะเมล็ดจำนวนไม่มากนักอาจจะเพาะในกระบะหรือในภาชนะต่างๆ เช่น หม้อดิน กระถาง กระบอกไม้ไผ่ และถุงพลาสติก เป็นต้น ส่วนการเพาะเมล็ดจำนวนมากๆ ควรเพาะในแปลงเพาะชำเสียก่อน แล้วจึงขุดไปปลูก หรือนำไปทาบกิ่งต่อไป
1.2 การเก็บเมล็ดที่จะนำมาเพาะ ควรคัดเลือกเก็บจากต้นแม่ที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่แคระแกร็นที่จะเก็บมาต้องแก่จัด หรือสุกปากตะกร้อควรมีขนาดและน้ำหนักเท่าๆเมล็ดที่จะนำมาเพาะเพื่อใช้เป็นต้นตอ ควรเป็นเมล็ดของมะม่วงพันธุ์ที่แข็งแรงทานกะล่อนแก้วแดงร่องต้นมะม่วงพวกนี้จะแข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆดี

1.3 การเตรียมเมล็ด แกะเมล็ดในมาเพาะ ให้ใช้มีดคมๆ ตัดปลายเมล็ดออกเล็กน้อย เพื่อให้เห็นช่องว่างภายใน รอยที่ตัดให้ค่อนไปทางด้านท้องของเมล็ด แล้วฉีกเปลือกของเมล็ดนอกออกเป็น 2 ซีก แล้วเอาเมล็ดที่อยู่ภายในซึ่งมีเยื่อบางๆ หุ้มอยู่ออกมาทำการเพาะ วิธีนี้จะช่วยให้เมล็ดโปร่ง อากาศ และน้ำเข้าไปในเมล็ดได้ง่าย เมล็ดงอกได้เร็ว และถ้ามีแรงงานพอ ให้แกะเอาเปลือกแข็งที่หุ้มเมล็ดออกทั้งหมด เอาแต่เนื้อข้างในไปเพาะ ก็จะทำให้งอกได้ดียิ่งขึ้นอีก
เมล็ดที่เอาเนื้อออกแล้ว ให้รีบเพาะภายใน 1 สัปดาห์ ไม่ควรเก็บไว้นานเกินกว่า 1 เดือน จะเพาะไม่งอก หรือถ้างอกต้นก็จะไม่ค่อยแข็งแรง การทิ้งเมล็ดให้โดนแดดโดนลมจะทำให้ความงอกเสียไป เมื่อได้เมล็ดมาแล้ว ควรคัดเมล็ดโดยการนำเมล็ดไปแช่น้ำ เมล็ดที่จมน้ำจะเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์นำไปเพาะได้ดี ส่วนเมล็ดลอยน้ำให้คัดทิ้งไป เมล็ดที่ดีจะนำไปเพาะเลยก็ได้ แต่อาจจะงอกช้า
1.4 วิธีเพาะเมล็ด วัสดุที่ใช้ในการเพาะที่ดีควรใช้ ทรายผสมกับขี้เถ้าแกลบ ใส่อัตราส่วน 1 ต่อ 1 และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 902 (ปุ๋ยเทศบาล) ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใส่ในกระบะเพาะ รดน้ำให้ชุ่ม แล้วนำเมล็ดที่แกะออกมาแล้ว มาปักชำลงในกระบะเพาะที่เตรียมไว้

การเพาะในภาชนะต่างๆ ให้ฝังเมล็ดลงไป 12 เมล็ด แล้วแต่ขนาดของภาชนะ ส่วนการเพาะในกระบะหรือในแปลงเพาะ ให้เพาะเป็นแถวๆ ห่างกัน 6-8 นิ้ว และแต่ละเมล็ดห่างกัน 6 นิ้ว การฝังเมล็ดควรให้ลึก
ประมาณ 2 นิ้ว โดยให้ด้านท้องของเมล็ดอยู่ด้านล่าง ตั้งส่วนท้องของเมล็ดเอียงเป็นมุมประมาณ 45 องศา ให้ส่วนหัวของเมล็ดขึ้นมาเหนือทรายในกระบะเพาะเล็กน้อย หรือประมาณ 1 ใน 4 ของควานยาวของเมล็ด จะทำให้เมล็ดงอกดี และต้นที่ได้ตั้งตรง เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม และรดน้ำทุกวันถ้าฝนไม่ตก เมล็ดที่สมบูรณ์จะงอกภายใน 1 สัปดาห์ ถึงปะมาณ 20 วัน
หลังจากงอกแล้วประมาณ 3 เดือน นำต้นกล้าที่งอกนั้นไปชำในถุงพลาสติกขนาดเล็ก ประมาณ 4x6 นิ้ว ใส่ดินที่มีใบไม้ผุมากๆ หรือขุยมะพร้าวผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ 902 หลังจากปักชำอีกประมาณ 3-4 เดือน ต้นกล้ามะม่วงจะมีขนาดประมาณเท่าแท่งดินสอดำ ซื่งเป็นขนาดที่พอเหมาะในการนำไปทาบกิ่งมะม่วงพันธุ์ดีต่อไป ส่วนการขุดต้นเพื่อนำไปปลูกในสวนนั้น ควรรอให้ต้นโตได้ขนาดเสียก่อนจึงขุด หรืออาจขุดมาปลูกไว้ในกระถางเสียก่อน เพื่อความสะดวกในการขนย้ายหรือรอเวลาปลูก


Monday 1 August 2016

เทคนิคการดูแลมะม่วง ให้ผลดก ตลอดปี

เทคนิคการดูแลมะม่วง ให้ผลดก ตลอดปี


การดูแลต้นมะม่วงให้ออกดอกติดผลอย่างสม่ำเสมอตามฤดูกาล จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติในการเจริญเติบโต และสภาวะที่ต้นมะม่วงต้องการในการสร้างตาดอก การใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปีเป็นผลให้มะม่วงเจริญเติบโตทางด้านกิ่งและใบมากเกินไป เรียกว่า “ เฝือใบ ” จะสังเกตเห็นว่าลำต้น กิ่ง ใบ เจริญงอกงามดี แต่ไม่ผลิตาดอก ทั้งนี้เพราะปัจจัยที่ทำให้ต้นมะม่วงแทงช่อดอกนั้น ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของปริมาณสารประกอบคาร์โบไฮเดรตและไนโตรเจนที่สะสมอยู่ที่ใบและยอดมีปริมาณพอเหมาะ กล่าวคือจะต้องมีปริมาณสารประกอบคาร์โบไฮเดรตสูงกว่าสารประกอบไนโตรเจน ปริมาณสัดส่วนของสารประกอบดังกล่าวจะมากน้อยกว่ากันเพียงใดจึงจะเกิดตาดอกนั้นขึ้นอยู่กับมะม่วงแต่ละสายพันธุ์ แต่ถ้ามีการสะสมปริมาณสารประกอบไนโตรเจนสูงกว่าคาร์โบไฮเดรต พืชจะเจริญทางด้านกิ่งใบและแตกใบอ่อน               โดยธรรมชาติแล้ว ต้นมะม่วงต้องการปุ๋ยและน้ำในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลและตัดแต่งกิ่งแล้ว เพื่อเป็นการเร่งให้มะม่วงแตกใบอ่อนให้เร็วที่สุด การให้ปุ๋ยในช่วงนี้อาจทำสองระยะ ห่างกันประมาณหนึ่งเดือน พร้อมการดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ มะม่วงจะแตกใบอ่อนสองสามชุด เมื่อหมดฝน ควรงดการให้ปุ๋ยและลดการให้น้ำลง การขาดน้ำในขีดจำกัดจะทำให้ต้นมะม่วงหยุดการเจริญทางด้านกิ่งและใบ เรียกว่า quot ระยะพักตัว ” ช่วงนี้มักเป็นระยะฤดูฝนทิ้งช่วงและย่างเข้าฤดูหนาว ซึ่งต้นมะม่วงจะได้สะสมคาร์โบไฮเดรตให้อยู่ในปริมาณสูงกว่าไนโตรเจน สภาพความชื้นในดินที่ลดลงนี้ทำให้การงดซึมน้ำขึ้นไปใช้ในลำต้นน้อยลง ไนโตรเจนจากรากถูกลำเลียงขึ้นไปสู่ยอดและใบได้น้อยลงด้วย ขณะเดียวกันปริมาณน้ำในลำต้นน้อย ทำให้ความเข้มข้นของคาร์โบไฮเดรตและฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกมากพอแก่การกระตุ้นการสร้างตาดอก ระยะนี้จึงสังเกตเห็นต้นมะม่วงมียอดอวบ กิ่งอ้วนกลม ใบแข็ง หนา เมื่อขยำใบมะม่วงจะรู้สึกว่าแข็งและกรอบ สภาพดังกล่าวแสดงว่าต้นมะม่วงพร้อมจะผลิดอกแล้ว               แสงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการผลิดอก ปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือ ทรงพุ่มของต้นมะม่วงหนาทึบเกินไปเพราะไม่ได้รับการตัดแต่งกิ่ง ทำให้แสงไม่สามารถส่องไปทั่วทุกส่วนของกิ่งและใบในทรงพุ่ม ในสภาพเช่นนี้การสร้างตาดอกก็จะน้อยลงด้วย ฉะนั้นจึงควรตัดกิ่งหลังการเก็บเกี่ยวผลแล้ว เพื่อให้แสงสว่างส่องได้ทุกส่วนของทรงพุ่ม ใบมะม่วงทุกใบได้มีการสังเคราะห์แสงอย่างเต็มที่ และเป็นการทำลายที่อยู่อาศัยของแมลงที่ชอบหลบซ่อนอยู่ในส่วนที่ใบหนาทึบ ซึ่งแสงแดดส่องไปไม่ถึงอีกด้วย               ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการผลิดอกออกผลของมะม่วงตามที่ได้กล่าวแล้วนั้น   สามารถควบคุมเพื่อให้มะม่วงออกตอกตามฤดูกาลได้ โดยต้องเตรียมการตั้งแต่หลังฤดูการเก็บเกี่ยว   ตามปรกติมะม่วงจะเก็บเกี่ยวผลได้ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน หลังการเก็บเกี่ยวแล้วควรตัดแต่งกิ่งในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ควรตัดกิ่งออกร้อยละ ๒๐-๓๐ ของจำนวนกิ่งเดิม ต่อจากนั้นจึงให้ปุ๋ยและน้ำสม่ำเสมอ อาจใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีก็ได้มะม่วงจะแตกยอดอ่อนติดต่อกันประมาณสองสามชุดในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ก่อนหมดฤดูฝนใบอ่อนชุดสุดท้ายจะเริ่มแก่ ควรงดให้น้ำและปุ๋ย เพื่อให้มะม่วงเข้าสู่ระยะพักตัวเพื่อสะสมอาหาร ในระยะนี้จะสังเกตเห็นใบมะม่วงมีสีเขียวเข้ม ใบหนาและแข็ง ประกอบกับย่างเข้าสู่ช่วงต้นของฤดูหนาวอากาศเย็นจะกระตุ้นให้มะม่วงผลิตาดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม   แต่ถ้ามีฝนตกในช่วงนี้ประกอบกับมีไนโตรเจนในดินสูง มะม่วงจะดูดซึมธาตุอาหารไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว อาจทำให้แตกยอดอ่อน วิธีแก้ไขคือต้องลดปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจนในดินโดยการใส่ปุ๋ยสูตรที่มีเฉพาะโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน เพื่อช่วยเหนี่ยวนำให้ในโตรเจนที่หลงเหลืออยู่ในดินถูกลำเลียงไปใช้ในการแตกยอดอ่อน ตามะม่วงซึ่งจะเจริญเป็นตาดอกนั้นจะมีลักษณะอวบอ้วนเป็นจะงอยเด่นชัด ส่วนตาที่จะเจริญไปเป็นยอดและใบจะมีลักษณะผอมและตั้งตรง               นอกจากการดูแลดังว่านี้แล้ว “ ซองคำถาม quot เคยเห็นเพื่อนบ้านใช้วิธีรมควันต้นมะม่วง ซึ่งเป็นวิธีโบราณ   ควรกระทำในช่วงที่ใบมะม่วงสะสมอาหารไว้เต็มที่แล้ว การรมควันจะเร่งให้ใบแก่ของมะม่วงหลุดร่วงก่อนเวลาปรกติ ก่อนที่ใบจะร่วง อาหารที่สะสมที่ใบจะเคลื่อนย้ายกลับไปสะสมที่ปลายยอด ทำให้มีสภาพเหมาะสมแก่การผลิตาดอก นอกจากนี้ยังพบว่า ในควันไฟมีแก๊สเอทิลีน ethylene ซึ่งเป็นสารตัวการสำคัญที่กระตุ้นให้มะม่วงออกดอกอีกด้วย สำหรับวัสดุที่ใช้ในการสุมไฟ ได้แก่   ใบไม้แห้ง กิ่งไม้ แกลบ และเศษวัชพืช “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”