Monday, 1 August 2016

เทคนิคการดูแลมะม่วง ให้ผลดก ตลอดปี

เทคนิคการดูแลมะม่วง ให้ผลดก ตลอดปี


การดูแลต้นมะม่วงให้ออกดอกติดผลอย่างสม่ำเสมอตามฤดูกาล จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติในการเจริญเติบโต และสภาวะที่ต้นมะม่วงต้องการในการสร้างตาดอก การใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปีเป็นผลให้มะม่วงเจริญเติบโตทางด้านกิ่งและใบมากเกินไป เรียกว่า “ เฝือใบ ” จะสังเกตเห็นว่าลำต้น กิ่ง ใบ เจริญงอกงามดี แต่ไม่ผลิตาดอก ทั้งนี้เพราะปัจจัยที่ทำให้ต้นมะม่วงแทงช่อดอกนั้น ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของปริมาณสารประกอบคาร์โบไฮเดรตและไนโตรเจนที่สะสมอยู่ที่ใบและยอดมีปริมาณพอเหมาะ กล่าวคือจะต้องมีปริมาณสารประกอบคาร์โบไฮเดรตสูงกว่าสารประกอบไนโตรเจน ปริมาณสัดส่วนของสารประกอบดังกล่าวจะมากน้อยกว่ากันเพียงใดจึงจะเกิดตาดอกนั้นขึ้นอยู่กับมะม่วงแต่ละสายพันธุ์ แต่ถ้ามีการสะสมปริมาณสารประกอบไนโตรเจนสูงกว่าคาร์โบไฮเดรต พืชจะเจริญทางด้านกิ่งใบและแตกใบอ่อน               โดยธรรมชาติแล้ว ต้นมะม่วงต้องการปุ๋ยและน้ำในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลและตัดแต่งกิ่งแล้ว เพื่อเป็นการเร่งให้มะม่วงแตกใบอ่อนให้เร็วที่สุด การให้ปุ๋ยในช่วงนี้อาจทำสองระยะ ห่างกันประมาณหนึ่งเดือน พร้อมการดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ มะม่วงจะแตกใบอ่อนสองสามชุด เมื่อหมดฝน ควรงดการให้ปุ๋ยและลดการให้น้ำลง การขาดน้ำในขีดจำกัดจะทำให้ต้นมะม่วงหยุดการเจริญทางด้านกิ่งและใบ เรียกว่า quot ระยะพักตัว ” ช่วงนี้มักเป็นระยะฤดูฝนทิ้งช่วงและย่างเข้าฤดูหนาว ซึ่งต้นมะม่วงจะได้สะสมคาร์โบไฮเดรตให้อยู่ในปริมาณสูงกว่าไนโตรเจน สภาพความชื้นในดินที่ลดลงนี้ทำให้การงดซึมน้ำขึ้นไปใช้ในลำต้นน้อยลง ไนโตรเจนจากรากถูกลำเลียงขึ้นไปสู่ยอดและใบได้น้อยลงด้วย ขณะเดียวกันปริมาณน้ำในลำต้นน้อย ทำให้ความเข้มข้นของคาร์โบไฮเดรตและฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกมากพอแก่การกระตุ้นการสร้างตาดอก ระยะนี้จึงสังเกตเห็นต้นมะม่วงมียอดอวบ กิ่งอ้วนกลม ใบแข็ง หนา เมื่อขยำใบมะม่วงจะรู้สึกว่าแข็งและกรอบ สภาพดังกล่าวแสดงว่าต้นมะม่วงพร้อมจะผลิดอกแล้ว               แสงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการผลิดอก ปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือ ทรงพุ่มของต้นมะม่วงหนาทึบเกินไปเพราะไม่ได้รับการตัดแต่งกิ่ง ทำให้แสงไม่สามารถส่องไปทั่วทุกส่วนของกิ่งและใบในทรงพุ่ม ในสภาพเช่นนี้การสร้างตาดอกก็จะน้อยลงด้วย ฉะนั้นจึงควรตัดกิ่งหลังการเก็บเกี่ยวผลแล้ว เพื่อให้แสงสว่างส่องได้ทุกส่วนของทรงพุ่ม ใบมะม่วงทุกใบได้มีการสังเคราะห์แสงอย่างเต็มที่ และเป็นการทำลายที่อยู่อาศัยของแมลงที่ชอบหลบซ่อนอยู่ในส่วนที่ใบหนาทึบ ซึ่งแสงแดดส่องไปไม่ถึงอีกด้วย               ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการผลิดอกออกผลของมะม่วงตามที่ได้กล่าวแล้วนั้น   สามารถควบคุมเพื่อให้มะม่วงออกตอกตามฤดูกาลได้ โดยต้องเตรียมการตั้งแต่หลังฤดูการเก็บเกี่ยว   ตามปรกติมะม่วงจะเก็บเกี่ยวผลได้ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน หลังการเก็บเกี่ยวแล้วควรตัดแต่งกิ่งในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ควรตัดกิ่งออกร้อยละ ๒๐-๓๐ ของจำนวนกิ่งเดิม ต่อจากนั้นจึงให้ปุ๋ยและน้ำสม่ำเสมอ อาจใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีก็ได้มะม่วงจะแตกยอดอ่อนติดต่อกันประมาณสองสามชุดในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ก่อนหมดฤดูฝนใบอ่อนชุดสุดท้ายจะเริ่มแก่ ควรงดให้น้ำและปุ๋ย เพื่อให้มะม่วงเข้าสู่ระยะพักตัวเพื่อสะสมอาหาร ในระยะนี้จะสังเกตเห็นใบมะม่วงมีสีเขียวเข้ม ใบหนาและแข็ง ประกอบกับย่างเข้าสู่ช่วงต้นของฤดูหนาวอากาศเย็นจะกระตุ้นให้มะม่วงผลิตาดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม   แต่ถ้ามีฝนตกในช่วงนี้ประกอบกับมีไนโตรเจนในดินสูง มะม่วงจะดูดซึมธาตุอาหารไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว อาจทำให้แตกยอดอ่อน วิธีแก้ไขคือต้องลดปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจนในดินโดยการใส่ปุ๋ยสูตรที่มีเฉพาะโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน เพื่อช่วยเหนี่ยวนำให้ในโตรเจนที่หลงเหลืออยู่ในดินถูกลำเลียงไปใช้ในการแตกยอดอ่อน ตามะม่วงซึ่งจะเจริญเป็นตาดอกนั้นจะมีลักษณะอวบอ้วนเป็นจะงอยเด่นชัด ส่วนตาที่จะเจริญไปเป็นยอดและใบจะมีลักษณะผอมและตั้งตรง               นอกจากการดูแลดังว่านี้แล้ว “ ซองคำถาม quot เคยเห็นเพื่อนบ้านใช้วิธีรมควันต้นมะม่วง ซึ่งเป็นวิธีโบราณ   ควรกระทำในช่วงที่ใบมะม่วงสะสมอาหารไว้เต็มที่แล้ว การรมควันจะเร่งให้ใบแก่ของมะม่วงหลุดร่วงก่อนเวลาปรกติ ก่อนที่ใบจะร่วง อาหารที่สะสมที่ใบจะเคลื่อนย้ายกลับไปสะสมที่ปลายยอด ทำให้มีสภาพเหมาะสมแก่การผลิตาดอก นอกจากนี้ยังพบว่า ในควันไฟมีแก๊สเอทิลีน ethylene ซึ่งเป็นสารตัวการสำคัญที่กระตุ้นให้มะม่วงออกดอกอีกด้วย สำหรับวัสดุที่ใช้ในการสุมไฟ ได้แก่   ใบไม้แห้ง กิ่งไม้ แกลบ และเศษวัชพืช “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

No comments:

Post a Comment